ข่าววันนี้ » โซเชียล
Shambhala TS - 3 ธันวาคม 2563 | แก้ไข

งานวิจัยเผย อัลลิเกเตอร์มีทักษะคล้ายจิ้งจก หางงอกใหม่ได้เมื่อถูกตัดขาด

เผยงานวิจัยชิ้นใหม่ ชี้ชัดว่าอัลลิเกเตอร์มีความสามารถงอกหางที่ขาดไปกลับคืนมาใหม่ได้ คล้ายกับญาติห่างๆอย่างจิ้งจกแต่ไม่ใช่เสียทีเดียว

 

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต ร่วมกับกรมสัตว์ป่าและการประมงหลุยเซียน่า ค้นพบว่าอัลลิเกเตอร์วัยเด็กมีความสามารถงอกหางตัวเองขึ้นมาใหม่ได้ ไม่ต่างจากจิ้งจก ตุ๊กแกหรือตัวทัวทาราในนิวซีแลนด์ โดยมันสามารถงอกหางใหม่ออกมาได้ยาวประมาณ 18% ของความยาวตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้ได้มีรายงานระบุเอาไว้ใน Scientific Reports

 

โดยทีมวิจัยได้ใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพขั้นสูงเพื่อสำรวจว่าจระเข้มีความสามารถในการงอกใหม่เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็กกว่าหรือไม่ และพบคำตอบว่าได้จริง! แต่ทั้งนี้มันก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ อย่างแรกคือทักษะนี้สงวนสิทธิ์ให้เฉพาะเกเตอร์ที่ยังอยู่ในวัยเด็กเท่านั้น อย่างที่สองคือเกเตอร์ไม่สามารถตัดหรือทำให้หางของตัวเองขาดได้ ไม่เหมือนกับจิ้งจกที่สามารถสลัดหางตัวเองให้ขาดได้เมื่อภัยมาถึงตัว หางหรืออวัยวะส่วนอื่นของเกเตอร์จะขาดได้ก็ต่อเมื่อได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้แย่งชิงเขตของตัวเอง หรือได้รับบาดเจ็บจากเครื่องมือของมนุษย์เช่นใบพัดเรือเป็นต้น

 

รวมไปถึงหางที่งอกออกมาใหม่แทนที่ของเดิมนั้น มีโครงสร้างทางกายภาพที่แตกต่างไปจากของเดิม ซึ่งตรงนี้ทาง ศจ.คุซุมิ เคนโร่ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตตและผู้เขียนร่วมในงานวิจัยชิ้นนี้ได้เผยว่า "อวัยวะที่งอกใหม่ของเกเตอร์ถูกห่อหุ้มไปด้วยเนื้อเยื่อที่ปะติดปะต่อกัน แต่ขาดโครงสร้างกล้ามเนื้อลายซึ่งกับจิ้งจกแล้วจะมีส่วนนี้"... 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: NY Dailynews, @xucindy/twitter

แสดงความคิดเห็น

ติดตามเราจากช่องทางอื่นๆ